แบบที่ 1 เป็นโลโก้จากข้อความตัวอักษรธรรมดา ใช้แม่สีหลักในการเล่นสีเหนือตัวอักษรโอตรงกลาง ซึ่งแพตเทิร์นรูปแบบนี้สื่อถึงการไม่มีที่สิ้นสุด ดังความหมายของคำว่า กูกอล (googol) ที่หมายถึง 10100 (ฟอนต์ — Adobe Garamond)
แบบที่ 2 แทนที่จะเล่นสีกับตัวอักษรกลางคำ คุณเกดาร์ดัดแปลงตัวอักษรโอให้มีลักษณะหลายมิติ จุดนี่เองกลายมาเป็นดีไซน์ของตัวโอหลายตัวท้ายหน้าค้นหาของกูเกิลทุกหน้า โดยครอสแฮร์กากบาทตรงกลางรวมถึงตัวโอรอบแสดงถึงเป้าหมายของกูเกิลที่แน่นอน เป็นเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียวต่างจากเว็บไซต์อื่น ตามความคิดของกูเกิลที่ว่าเน้นการใช้งานที่เรียบง่ายภายใต้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันซับซ้อน (ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 3 นำตัวอักษรโอคล้องเข้าหากันแสดงถึงการค้นหาที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ในหลายวัฒนธรรมและหลายประเทศ โดยยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า กูเกิลกำลังจะไปร่วมแข่งกีฬาโอลิมปิกส์แล้วก็หัวเราะ (ฟอนต์ — ITC Leawood)
แบบที่ 4 เปลี่ยนตัวอักษรมาใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หมดให้ความรู้สึกถึงความหนักแน่น ในขณะเดียวมีการเปลี่ยนขนาดตัวอักษรและเพิ่มสี เพื่อให้โลโก้มีลักษณะไม่อึดอัดจนเกินไป แว่นขยายถูกเสริมเข้ามา สีที่ใช้ยังไม่ใช้สีรุ้งอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน(ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 5 มีลักษณะคล้ายแบบก่อนหน้า โดยนำส่วนครอสแฮร์กากบาทและส่วนที่ซูมผ่านแว่นขยายออก มีการเพิ่มรอยยิ้มแสดงถึงการมีความสุขและความรู้สึกดีหลังจากใช้งานกูเกิล สีของตัวอักษรเริ่มต้นและตัวสุดท้ายใช้สีเดียวกัน ในขณะที่สีอื่นระหว่างกลางมีสีที่หลากหลาย แสดงถึงการค้นหารในกูเกิลที่มีเส้นทางหลายหลาก และสุดท้ายได้ข้อมูลตรงจากที่เริ่มต้นค้นหา (ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 6 ดีไซน์นี้กลับมาลักษณะของคอนเซปต์ในตอนแรกของ เซอร์เกย์ บริน แต่ใช้ฟอนต์ที่เปลี่ยนไป และมีเพิ่มเงาและเพิ่มเฉดสี และโลโก้มีลักษณะลอยอยู่เหนือหน้าการค้นหา (ฟอนต์ — ITC Leawood)
แบบที่ 7 เริ่มต้นปรับแก้ให้โลโก้มีลักษณะเรียบง่าย นอกจากนำสัญลักษณ์แว่นขยายออกยังคงมีลูกเล่นแสดงถึงกูเกิลที่มีมากกว่าการเป็นเสิร์ชเอนจิน โดยการหมุนตัวโอเล่นมุมและสีของตัวอักษร (ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 8 พัฒนาจากแบบก่อนหน้า ปรับเปลี่ยนใช้เฉพาะแม่สีหลัก ในขณะเดียวกันการเรียงลำดับของสีไม่เป็นไปตามแบบแผน โดยสีลำดับที่สองสีเขียวได้ถูกใช้ที่ตัวแอล ซึ่งสะท้อนไอเดียของกูเกิลว่า กูเกิลไม่ใช่บริษัทที่ทำตามแบบแผนตลอดเวลา (ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 2 แทนที่จะเล่นสีกับตัวอักษรกลางคำ คุณเกดาร์ดัดแปลงตัวอักษรโอให้มีลักษณะหลายมิติ จุดนี่เองกลายมาเป็นดีไซน์ของตัวโอหลายตัวท้ายหน้าค้นหาของกูเกิลทุกหน้า โดยครอสแฮร์กากบาทตรงกลางรวมถึงตัวโอรอบแสดงถึงเป้าหมายของกูเกิลที่แน่นอน เป็นเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียวต่างจากเว็บไซต์อื่น ตามความคิดของกูเกิลที่ว่าเน้นการใช้งานที่เรียบง่ายภายใต้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันซับซ้อน (ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 3 นำตัวอักษรโอคล้องเข้าหากันแสดงถึงการค้นหาที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ในหลายวัฒนธรรมและหลายประเทศ โดยยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า กูเกิลกำลังจะไปร่วมแข่งกีฬาโอลิมปิกส์แล้วก็หัวเราะ (ฟอนต์ — ITC Leawood)
แบบที่ 4 เปลี่ยนตัวอักษรมาใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หมดให้ความรู้สึกถึงความหนักแน่น ในขณะเดียวมีการเปลี่ยนขนาดตัวอักษรและเพิ่มสี เพื่อให้โลโก้มีลักษณะไม่อึดอัดจนเกินไป แว่นขยายถูกเสริมเข้ามา สีที่ใช้ยังไม่ใช้สีรุ้งอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน(ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 5 มีลักษณะคล้ายแบบก่อนหน้า โดยนำส่วนครอสแฮร์กากบาทและส่วนที่ซูมผ่านแว่นขยายออก มีการเพิ่มรอยยิ้มแสดงถึงการมีความสุขและความรู้สึกดีหลังจากใช้งานกูเกิล สีของตัวอักษรเริ่มต้นและตัวสุดท้ายใช้สีเดียวกัน ในขณะที่สีอื่นระหว่างกลางมีสีที่หลากหลาย แสดงถึงการค้นหารในกูเกิลที่มีเส้นทางหลายหลาก และสุดท้ายได้ข้อมูลตรงจากที่เริ่มต้นค้นหา (ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 6 ดีไซน์นี้กลับมาลักษณะของคอนเซปต์ในตอนแรกของ เซอร์เกย์ บริน แต่ใช้ฟอนต์ที่เปลี่ยนไป และมีเพิ่มเงาและเพิ่มเฉดสี และโลโก้มีลักษณะลอยอยู่เหนือหน้าการค้นหา (ฟอนต์ — ITC Leawood)
แบบที่ 7 เริ่มต้นปรับแก้ให้โลโก้มีลักษณะเรียบง่าย นอกจากนำสัญลักษณ์แว่นขยายออกยังคงมีลูกเล่นแสดงถึงกูเกิลที่มีมากกว่าการเป็นเสิร์ชเอนจิน โดยการหมุนตัวโอเล่นมุมและสีของตัวอักษร (ฟอนต์ — Catull)
แบบที่ 8 พัฒนาจากแบบก่อนหน้า ปรับเปลี่ยนใช้เฉพาะแม่สีหลัก ในขณะเดียวกันการเรียงลำดับของสีไม่เป็นไปตามแบบแผน โดยสีลำดับที่สองสีเขียวได้ถูกใช้ที่ตัวแอล ซึ่งสะท้อนไอเดียของกูเกิลว่า กูเกิลไม่ใช่บริษัทที่ทำตามแบบแผนตลอดเวลา (ฟอนต์ — Catull)
0 ความคิดเห็น