Spreadfirefox Affiliate Button



ภาพนี้เพื่อนผมส่งมาให้ทาง e Mail เป็นภาพสื่อบันทึกข้อมูลขนาด 1GB ของเมื่อ 20 ปีก่อน เทียบกับสื่อบันทึกข้อมูลขนาด 1GB (Memory Card ที่อยู่ในมือ) เช่นกันแต่เป็นของปัจจุบันนี้

จากภาพจะเห็นความแตกต่างอย่างมากมาย และ ตอนนี้ Memory Card ขนาดเท่าที่อยู่ในมือนั้น ปัจจุบัน สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 32GB แล้ว ผมแทบไม่อยากจินตนาการเลยว่าในอนาคตอีกไม่ไกลข้างหน้า (3 - 5 ปี) สื่อบันทึกข้อมูลขนาดเดียวกันนี้จะเก็บข้อมูลได้ถึงเท่าไหร่กันแน่

เขียนโดย Şiłąncē Mőbiuş วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 0 ความคิดเห็น

ADSL คืออะไร

ADSL ย่อมาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscribers Line คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบใหม่ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเครือข่ายระยะไกลได้ด้วยความเร็วสูงโดยใช้คู่สายโทรศัพท์ธรรมดา

ความเร็วของ ADSL เป็นอย่างไร

เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และความเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีความเร็วในการรับข้อมูล สูงกว่าความเร็วในการส่งข้อมูลเสมอ เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุด 8 เม็กกะบิตต่อวินาที (Mbps) และความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 640 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps.) ความเร็วอาจเริ่มตั้งแต่ 128/64, 256/128, 512/256 เป็นต้น โดยความเร็วแรกเป็นความเร็วขารับข้อมูล

คุณสมบัติของเทคโนโลยี ADSL มีอะไรบ้าง
  • ความเร็วสูง เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56K ธรรมดากว่า 5 เท่า (256 Kbps.) หรือสูงสุดกว่า 140 เท่าที่ความเร็ว 8 Mbps.
  • การเชื่อมต่อแบบ Always On สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เหมาะสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  • ค่าใช้จ่ายคงที่ ในอัตราที่ประหยัด ค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือนแบบไม่จำกัดเวลา ในราคาเริ่มต้นที่ประหยัด ไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโทรศัพท์ต่อครั้ง

เราสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างจากบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL
  • รับและส่งไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว
  • การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากอินเทอร์เน็ตเน็ต
  • การดู VDO streaming และ การประชุมทางไกล VDO conferencing
  • การประยุกต์ใช้สำหรับการรักษาความปลอดภัยของบ้าน และการมอนิเตอร์สถานที่ต่าง ๆ จากระยะไกล โดยใช้ใช้ IP Camera เชื่อมต่อผ่าน ADSL
  • การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานด้วยกันในราคาที่ประหยัด
  • การสำรองข้อมูลจากสำนักงาน หรือจากอินเทอร์เน็ต
  • การเล่นเกมส์ออนไลน์ที่เร็วและสนุกกว่าเดิม

สายโทรศัพท์ที่ใช้กับบริการ ADSL ต้องเป็นสายโทรศัพท์พิเศษ หรือต้องขอเลขหมายใหม่หรือไม่

สายโทรศัพท์ที่ใช้กับบริการ ADSL เป็นสายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้สำหรับโทรศัพท์โดยทั่วไป แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ให้บริการ และต้องอยู่ในระยะทางไม่เกิน 5.5 กิโลเมตรจากชุมสายโทรศัพท์ ไม่จำเป็นต้องหาคู่สายใหม่เพื่อใช้บริการ ADSL ยกเว้นคู่สายโทรศัพท์ของผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการได้ เช่น คู่สายของ ทศท. ไม่สามารถให้บริการได้ แต่อยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการของทีทีแอนด์ที เป็นต้น

สายโทรศัพท์ที่ติดตั้งสัญญาณ ADSL สามารถใช้ร่วมกับโทรศัพท์ หรือแฟกส์ได้หรือไม่

เราสามารถใช้สายโทรศัพท์ร่วมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้อุปกรณ์ POTs Splitter ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับแยกสัญญาณโทรศัพท์ออกจากสัญญาณ ADSL ซึ่งทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตได้พร้อม ๆ กัน โดยไม่รบกวนกัน ปกติแล้วอุปกรณ์ POTs Splitter จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ ADSL Modem หรือ Router

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยี ADSL ต้องเสียค่าบริการเชื่อมต่อ ๆ ครั้งหรือไม่

การเชื่อมต่อแบบ ADSL เป็นการเชื่อมต่อแบบ Always on คือการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ค่าบริการเป็นแบบเหมาจ่ายไม่จำกัดเวลา ไม่เสียค่าบริการเชื่อมต่อต่อครั้ง แตกต่างจากเทคโนโลยี 56K หรือ ISDN ซึ่งต้องเสียค่าบริการเชื่อมต่อครั้งละ 3 บาท

การขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL ต้องทำอย่างไร

ผู้ประสงค์จะใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL สามารถขอใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านซีเอส ล็อกซอินโฟ โดยติดต่อฝ่ายขาย โทร. 02-2638119 หรือ โทร. 02-2638222 หรือคลิกที่นี่เพื่อสมัครแบบออนไลน์

การใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่หรือไม่

โมเด็มแบบ 56K ธรรมดา ไม่สามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณ ADSL ต้องใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับเทคโนโลยี ADSL ได้แก่ ADSL Modem หรือ ADSL Router

ADSL Router (เราเตอร์) คืออะไร ต่างจาก ADSL Modem อย่างไร

ADSL Router คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ADSL เราเตอร์มีฟีเจอร์สำหรับการแชร์อินเทอร์เน็ตจำนวน 2 เครื่องขึ้นไป เหมาะสำหรับองค์กรที่มีเครือข่าย LAN หรือร้านอินเทอร์เน็ต ส่วน ADSL Modem เหมาะสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว อุปกรณ์เราเตอร์มีราคาแพงกว่าโมเด็มเล็กน้อย

จะเลือกเราเตอร์หรือโมเด็มดี

ปัจจัยในการเลือกใช้เราเตอร์หรือโมเด็ม ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานว่าจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เตอร์หลายเครื่องหรือเครื่องเดียว และอินเตอร์เฟสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีแบบ LAN หรือ USB โดยปกติแล้วเราเตอร์จะมีอินเทอร์เฟสแบบ LAN (RJ45) เราเตอร์บางรุ่นมีทั้งพอร์ต LAN และ พอร์ต USB ซึ่งสามารถใช้ได้หลายวัตถุประสงค์และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทั้งเครื่องเดียว และหลายเครื่อง
โมเด็มส่วนใหญ่มีอินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อแบบ USB ซึ่งสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว

ถ้าราคาไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป และเครื่องคอมพิวเตอร์มีพอร์ต LAN แม้จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ควรเลือกเราเตอร์ เพราะมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่า ไม่ต้องมีการติดตั้งไดรเวอร์ และซอฟต์แวร์ใด ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์

เขียนโดย Şiłąncē Mőbiuş 0 ความคิดเห็น

แบบที่ 1 เป็นโลโก้จากข้อความตัวอักษรธรรมดา ใช้แม่สีหลักในการเล่นสีเหนือตัวอักษรโอตรงกลาง ซึ่งแพตเทิร์นรูปแบบนี้สื่อถึงการไม่มีที่สิ้นสุด ดังความหมายของคำว่า กูกอล (googol) ที่หมายถึง 10100 (ฟอนต์ — Adobe Garamond)



แบบที่ 2 แทนที่จะเล่นสีกับตัวอักษรกลางคำ คุณเกดาร์ดัดแปลงตัวอักษรโอให้มีลักษณะหลายมิติ จุดนี่เองกลายมาเป็นดีไซน์ของตัวโอหลายตัวท้ายหน้าค้นหาของกูเกิลทุกหน้า โดยครอสแฮร์กากบาทตรงกลางรวมถึงตัวโอรอบแสดงถึงเป้าหมายของกูเกิลที่แน่นอน เป็นเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียวต่างจากเว็บไซต์อื่น ตามความคิดของกูเกิลที่ว่าเน้นการใช้งานที่เรียบง่ายภายใต้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันซับซ้อน (ฟอนต์ — Catull)



แบบที่ 3 นำตัวอักษรโอคล้องเข้าหากันแสดงถึงการค้นหาที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ในหลายวัฒนธรรมและหลายประเทศ โดยยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า กูเกิลกำลังจะไปร่วมแข่งกีฬาโอลิมปิกส์แล้วก็หัวเราะ (ฟอนต์ — ITC Leawood)



แบบที่ 4 เปลี่ยนตัวอักษรมาใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หมดให้ความรู้สึกถึงความหนักแน่น ในขณะเดียวมีการเปลี่ยนขนาดตัวอักษรและเพิ่มสี เพื่อให้โลโก้มีลักษณะไม่อึดอัดจนเกินไป แว่นขยายถูกเสริมเข้ามา สีที่ใช้ยังไม่ใช้สีรุ้งอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน(ฟอนต์ — Catull)



แบบที่ 5 มีลักษณะคล้ายแบบก่อนหน้า โดยนำส่วนครอสแฮร์กากบาทและส่วนที่ซูมผ่านแว่นขยายออก มีการเพิ่มรอยยิ้มแสดงถึงการมีความสุขและความรู้สึกดีหลังจากใช้งานกูเกิล สีของตัวอักษรเริ่มต้นและตัวสุดท้ายใช้สีเดียวกัน ในขณะที่สีอื่นระหว่างกลางมีสีที่หลากหลาย แสดงถึงการค้นหารในกูเกิลที่มีเส้นทางหลายหลาก และสุดท้ายได้ข้อมูลตรงจากที่เริ่มต้นค้นหา (ฟอนต์ — Catull)



แบบที่ 6 ดีไซน์นี้กลับมาลักษณะของคอนเซปต์ในตอนแรกของ เซอร์เกย์ บริน แต่ใช้ฟอนต์ที่เปลี่ยนไป และมีเพิ่มเงาและเพิ่มเฉดสี และโลโก้มีลักษณะลอยอยู่เหนือหน้าการค้นหา (ฟอนต์ — ITC Leawood)



แบบที่ 7 เริ่มต้นปรับแก้ให้โลโก้มีลักษณะเรียบง่าย นอกจากนำสัญลักษณ์แว่นขยายออกยังคงมีลูกเล่นแสดงถึงกูเกิลที่มีมากกว่าการเป็นเสิร์ชเอนจิน โดยการหมุนตัวโอเล่นมุมและสีของตัวอักษร (ฟอนต์ — Catull)



แบบที่ 8 พัฒนาจากแบบก่อนหน้า ปรับเปลี่ยนใช้เฉพาะแม่สีหลัก ในขณะเดียวกันการเรียงลำดับของสีไม่เป็นไปตามแบบแผน โดยสีลำดับที่สองสีเขียวได้ถูกใช้ที่ตัวแอล ซึ่งสะท้อนไอเดียของกูเกิลว่า กูเกิลไม่ใช่บริษัทที่ทำตามแบบแผนตลอดเวลา (ฟอนต์ — Catull)

เขียนโดย Şiłąncē Mőbiuş 0 ความคิดเห็น

โลกนี้ไม่ได้มีแต่ Microsoft และ Windows นะจะบอกให้

Subscribe here

เวลา ไม่เคยคอยใคร